การรักษาทางกายภาพบำบัด


กายภาพบำบัด คืออะไร?

การรักษาอาการปวดของกล้ามเนื้อและกระดูก และโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย และการนวด ดัด ดึงข้อต่อ เพื่อบรรเทาอาการปวด ป้องกันการบาดเจ็บ ฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ 


เรารักษาอะไรบ้าง?

  • อาการปวดต้นคอ ปวดคอบ่าไหล่ ออฟฟิศซินโดรม

  • อาการปวดหลัง ร้าวลงสะโพกและขา

  • กล้ามเนื้อสะโพกหนีบทับเส้นประสาท
  • ปวดข้อต่อต่างๆ ปวดเข่า ข้อเท้า ข้อมือ 

  • ปวดฝ่ามือ หรือ ปวดฝ่าเท้า ปวดรองช้ำ

  • ไหล่ติด ข้อติด ยกแขนไม่ขึ้น

  • อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น เอ็นฉีก เอ็นอักเสบ 

  • อาการอ่อนแรงแขน หรือขา 
  • อาการชาตามแขนหรือขา

  • การผิดรูปของข้อต่อ เช่น กระดูกสันหลังคด 

ขั้นตอนการรักษา

1. ตรวจประเมินและวินิจฉัย
2. ลดปวด ลดอักเสบ และฟื้นฟูร่างกาย
3. ประเมินผลการรักษา

ตรวจประเมินร่างกายด้วยวิธีทางกายภาพำบัด คือขั้นตอนแรกของการรักษา 

นักกายภาพจะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อประเมินสาเหตุของอาการ วินิจฉัยโรค แนวทางการรักษา

รวมถึงวิธีป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ โดยใช้เทคนิคการตรวจเฉพาะทาง เพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ความแข็งแรง

และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ซึ่งผลจากการประเมินเหล่านี้จะช่วยให้สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และวางแผน

การรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

การลดอาการและฟื้นฟูด้วยเครื่องมือและเทคนิคทางกายภาพบำบัด

หลังจากวินิจฉัยแล้ว นักกายภาพบำบัดจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งประกอบด้วยหลายเทคนิค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

ลดอาการปวด ฟื้นฟูการทำงานของร่างกาย และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งการรักษาประกอบด้วย:

1.เครื่องมือทางกายภาพบำบัด

เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound), คลื่นไฟฟ้ากระตุ้น (TENS), การประคบร้อน-เย็น

หรือเลเซอร์บำบัด เพื่อช่วยลดปวด ลดอักเสบ และคลายกล้ามเนื้อ

2.การยืด ดัด และดึงข้อต่อ
เทคนิคนี้ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อที่ติดขัด หรือบรรเทาอาการข้อตึง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มช่วง

3.การออกกำลังกายบำบัดเฉพาะบุคคล
เช่น การฝึกกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง การฝึกการทรงตัว การฝึกเดิน หรือการยืดกล้ามเนื้อ โดยนักกายภาพบำบัดจะออกแบบให้เหมาะสม

กับปัญหาและสมรรถภาพของแต่ละบุคคล เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ประเมินผลหลังการรักษา

เมื่อการรักษาดำเนินไปตามแผนแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการประเมินผลลัพธ์ของการรักษา ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการติดตามความก้าวหน้า

และปรับแนวทางให้เหมาะสมมากขึ้น นักกายภาพบำบัดจะวัดผลการเปลี่ยนแปลงของอาการ เช่น ระดับความปวด องศาการเคลื่อนไหว

หรือกำลังกล้ามเนื้อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังการรักษา และแนะนำการออกกำลังกายต่อเนื่องที่บ้าน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ